การคิดและพฤติกรรมการคิด


การคิด เป็นกระบวนการทางสมองที่มีศักยภาพสูง เป็นความสามารถที่มีอยู่ใน ตัวมนุษย์ที่สามารถแสดงออกด้านภาษาพูด ภาษาสัญลักษณะ และลักษณะท่าทางต่างๆ เพื่อสื่อสารให้บุคคลอื่น ได้รับรู้ความรู้สึกนึกคิดของตน

ปัจจัยพื้นฐานของการคิด

ปัจจัยพื้นฐานของการคิด ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบที่สำคัญ คือ

1. คุณลักษณะของผู้คิด การที่มนุษย์เรามีสามารถ ในการคิดที่แตกต่างกัน ต้องอาศัยปัจจัย ที่เป็นพื้นฐานเริ่มจากตัวผู้คิดเองจะต้อง มีคุณลักษณะ ที่เอื้อต่อการคิด ได้แก่ ความปกติของสมอง ความมีวุฒิภาวะทางอารมณ์ และอาศัยขอ้อมูลที่มีอยู่ ประสบการณ์ต่างๆ ที่ผ่านมาแล้ว
2. สิ่งเร้า เป็นตัวกระตุ้นให้ผู้คิดเกิดความสนใจเอาใจใส่ สังเกต พิจารณาไตร่ตรอง เพื่อให้เกิดกระบวนการคิด การคิดจะเกิดขึ้น เมื่อประสาทรับรู้ได้รับ การกระตุ้นจากสิ่งเร้า ซึ่งสมองจะเลือกรับรู้สิ่งที่มากระตุ้นนั้น สิ่งเร้าาที่เกิดขึ้นอาจเปน็ สภาพแวดลอ้อมต่างๆ ที่ได้จาก คน สัตว์ สิ่งของ ความต้องการ และเหตุการณ์
3. สื่อและอุปกรณ์สำหรับช่วยคิด จินตนาการตลอดจนอุปกรณ์ต่างๆ ที่ช่วยสนับสนุนให้เกิดการคิดขึ้นมา เช่น รูปทรงของเรขาคณิต โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่เป็น การสนับสนุน ทางด้านที่ทำให้เกิดทักษะการคิดเป็นต้น


ในขณะที่คิด เครื่องมือที่ใช้ในการคิดของมนุษย์ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ


1.ภาพพจน์ เป็นสิ่งที่เกิดแทนวัตถุต่างๆ หรือแทน ประสบการณ์ของผู้คิดซึ่งอาจจะเกิดขึ้นทางตาหรือทางหู
2.ภาษา เป็นสิ่งสำคัญของกระบวนการคิดการแก้ปญัญหา เพราะภาษาเป็นสื่อกลางความคิดของมนุษย์
3.สัญลักษณ์ สิ่งที่ใช้เป็นเครื่องหมายหรือตัวแทนวัตถุเหตุการณ์ และการกระทำต่างๆ เช่น สัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์
กริยาท่าทาง การพยักหน้า การสั่นหน้า


ประเภทของการคิด

การคิดแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1. การคิดอย่างมีจุดมุ่งหมาย เป็นการคิดที่หาเหตุผล สามารถนำไปใช้ในการแก้ปัญหาอยู่ในรูปของกระบวนการ เป็นการคิดอย่างมีระบบ มีเหตุผล เป็นวิทยาศาสตร์
2. การคิดอย่างไม่มีจุดมุ่งหมาย คือการคิดเลื่อนลอย คิดเพ้อฝัน ไม่มีจุดหมาย ไม่มีขอบเขต เป็นการคิดแบบคล้อยตามสิ่งเร้า


ในโลกของสังคมมนุษย์ความคิดและการกระทำของบุคคล สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ประเภทด้วยกัน คือ

ประเภทที่ 1 คิดและทำ บุคคลประเภทนี้จะเป็นนักคิด และลงมือปฏิบัติ คือ เป็นผู้ที่มีความคิดสร้างสรรค์ คิดวิเคราะห์ปัญหาเป็น มีหลักการ มีอุดมการณ์ และมีความเป็นนักวิชาการอยู่ในตนเอง ผู้ที่เป็นนักปฏิบัติคือ ผู้ที่มีความพรอ้อมในการทำางานหรือลงมือกระทำ
ตามความรับผิดชอบอย่างเต็มที่ และรับผิดชอบทุกขั้นตอนของการทำงาน

ประเภทที่ 2 คิดแต่ไม่ทำ บุคคลประเภทนี้ จะเป็นนักคิดแต่ไม่ลงมือปฏิบัติ เหตุผลของการไม่ปฏิบัติของแต่ละบุคคล แตกต่างกันออกไป บางคนไม่กระทำเพราะไม่มีบทบาทหน้าที่ บางคนไม่กระทำเพราะไม่เห็นด้วยกับแนวคิด บางคนไม่กระทำ เพราะไม่มีกำลังใจ ท้อแท้ และไม่เห็นความสำาคัญของงาน บางคนไม่ทำเพราะไม่มีโอกาสที่จะกระทำ และบางคนไม่ทำเพราะเป็นค่านิยมส่วนบุคคลที่ชอบความสะดวกสบาย

ประเภทที่ 3 ทำแต่ไม่คิด บุคคลประเภทนี้ เป็นนักปฏิบัติที่กระทำ แต่ไม่มีโอกาสใน การมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นเสนอแนะ กำหนดนโยบาย และแนวทางการปฏิบัติงาน หรืออาจจะเป็นบุคคลที่ชอบทำงานตามกฎระเบียบข้อบังคับ หรืองานประจำ จนเกิดความเคยชิน และไม่เกิดความคิดสร้างสรรค์

ประเภทที่ 4 ไม่คิด ไม่ทำ บุคคลประเภทนี้จะไม่เป็นทั้ง นักคิดและนักปฏิบัติ สาเหตุอาจเกิดจากค่านิยมส่วนบุคคล หรืออาจเกิดจากบุคคลประเภทที่ 2 คือ คิดแต่ไม่ทำมาก่อน เมื่อเวลาผ่านไปนานๆ เข้า ความคิดเริ่มถดถอยหมดกำลังใจที่จะคิดตอ่ ไปจนกลายสภาพมาเป็น
บุคคลที่ไม่คิด ไม่ทำ


เปรียบเทียบการคิดทางบวกกับการคิดทางลบ



การคิดที่ทำให้เกิดผลดีต่อสังคม สิ่งที่ควรจะเริ่มเป็นอันดับแรกก็คือ การคิดดี ซึ่งเป็น การคิดที่เป็นประโยชน์สามารถ อยู่ในสังคมได้อย่างมี ความสุข

เริ่มจากคิดดีแต่ตนเองก่อน

ให้เเวลาแก่ตนเอง เช่น คิดดูแลตนเอง รักษา สุขภาพให้ด้ดี ร่างกายทีแข็งแรงสมบูรณ์ จิตใจที่ แจ่มใสเบิกบาน ย่อมจะทำาให้อารมณ์ดี และชีวี เป็นนสุข ดั่งสุภาษิตที่ว่า "ความไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ"

มองคนรอบข้างในแง่ดี
การมองคนรอบข้างในทางที่ดีนั้น จะทำให้บรรยากาศที่อยู่น่นั้นผ่อนคลาย หายเครียด เป็นสุขไว้ใจกัน และเข้าใจกัน ใจของเรา ก็จะเป็นสุข หน้าตาของเราก็จะแจ่ม่มใส และอายุก็จะยืนยาว

ไม่เเป็น็นคนขี้สงสัยระแวง
ต้องตัดความคิดเรื่องระแวงแคลงใจออกจากตัวเองให้เร็วที่สุด มากที่สุด สิ่งที่ควรจะทำ คือ การเลิกรับข่าาวสารที่ไม่เป็น ประโยชน์ต่อ ตนเอง ออกไป เลิกอ่านหนังสือพิมพ์ที่เขียนข่าวแต่ในทางร้าย เลิกฟังวิทยุหรือ ชมรายการโทรทัศน์ ที่ไม่ประเทือง ปััญญา ความเป็น็นคนขี้ระแวงจะลดลง

อย่ามองโลกในแง่ร้าย
โบราณกล่าวว่า "คบคนพาลพาลพาไปหาผิด คบบัณฑิตบัณฑิตพาไปหาผล" พยายามหลีกตัวหนีห่างจาก การคบหาสมาคมกับ คนที่มองโลกในแง่ร่ร้าย คนที่ขี้อิจฉาริษยา คนขี้ระแวง ซึ่งนำไปสู่การมองโลกในแง่ร้าย ควรคบคนที่มองโลกในแง่ด่ดี คิดในทางสร้างสรรค์ ไม่เเห็นแก่ตัว

เอาใจเขามาใส่ใจเรา
การเอาใจเขามาใส่ใจเรา อย่าเอาแต่ความคิดของตนเป็นใหญ่ พยายามคิดในทางที่ดีถึงการกระทำของคนใกล้ตัว ให้อภัยซึ่งกันและกัน ในความผิดพลาด

คิดก่อนพูด
การคิดก่อ่อนพูด ไม่ว่าเป็นจะต้องพูดทุกอย่างที่รู้ (ซึ่งอาจจะไม่เป็นความจริงทุกเรื่องเสมอไป) แต่จะต้องรู้ท้ทุกเรื่อง ที่จะพูดออกไปว่า เป็นประโยชน์ต์ต่อผู้ฟัง หรือตัวเองหรือไม่

อย่าใช้อารมณ์ค์คิด
ต้องใช้ความคิดในทางที่เป็นเหตุและผล โดยเฉพาะ ต้องมองเหตุการณ์ทุกอย่างในชีวิตว่า เป็นเพราะเหตุใดจึงเกิดผลของการกระทำนั้น และถ้าาปรับเปลี่ยนบางสิ่ง บางอย่างแล้ว ต้นเหตุที่ไม่ดีงามอาจจะหายไป และผลดี ต่างๆ ก็น่าจะตามมาแทนที่


อุปสรรคของการคิด

มนุษย์ทุกคนจะมีความสามารถในการคิดเหมือนกันแต่ศักยภาพ ในการคิดนั้นอาจจะแตกต่างกัน นั่นก็เพราะว่ากระบวนการคิด ของเขาเหล่านั้นถูกขัดขวางด้วยอุปสรรค ดังต่อไปนี้


1.อุปสรรคทางการรับรู้ ผู้ที่ไม่ใช่นักฟังที่ดี มักจะประสบ กับปัญหานี้ เพราะมันทำให้เขาไม่เห็นภาพที่แท้จริงของ ภายนอกขาดข้อมูลที่จะนำมาใช้ในการคิด ทำให้เกิดการ เชื่อมโยงเหตุผลที่ผิดได้ การเป็นนักฟังที่ดี คือ คนฉลาดฟัง"ต้องฟังอย่างตั้งใจฟังแล้วคิดทั้งด้านบวกและด้านลบ ฟังแล้วต้องคิดวิเคราะห์ เพื่อกำหนดน้ำหนักความเชื่อถือ

2. อุปสรรคเชิงกลยุทธ์ หมายถึง วิธีคิดต่างๆ ที่ไม่สนับสนุน ความคิดสร้างสรรค์ วิธีการที่เป็นอุปสรรคเหล่านี้ได้แก่ การ คิดแนวตั้ง การคิดหาคำตอบที่ถูกต้องเพียงคำตอบเดียวซึ่งทำ ให้ผู้ดีละเลยไม่สนใจวิธีใหผูคไมวธแกป้ปญัญหาหรือทางเลือกอื่นๆ ที่อาจ เป็นไปได้ อันเนื่องมาจากความเคยชิน

3. อุปสรรคทางอัตตา ยึดความคิดตัวเองเป็นหลัก ชอบหาข้อบกพร่องของความคิดผู้อื่นที่แปลก แตกต่างจากความคิดของตน แต่กลับมองข้ามข้อบกพร่องของความคิดของตัวเองซึ่งใช้เหตุผลโดย เอาตนเองเป็นศูนย์กลาง

4. อุปสรรคทางสังคม ผู้คนที่พ่ายแพ้ต่อ อุปสรรคประเภทนี้มักเป็นผู้ที่ไม่มั่นใจตนเอง ไม่สามารถทนต่อคำวิจารณ์ คำปฏิเสธหรือการต่อต้านจากสังคมได้และมักจะอ้างว่า "ฉันทำไม่ได้" "มันไม่ใช่หน้าที่ของฉัน" "ทำเหมือนเดิมดีแล้ว ไม่เห็นต้อง เปลี่ยนแปลงเลย"

5. อุปสรรคทางความเชื่อและค่านิยม ความคิด ของบุคคลอาจได้รับผลกระทบจากความเชื่อและ ค่านิยมของตัวเองได้ และทำให้เขาไม่ยอมรับเอาวิธีการหรือความคิดบางอย่างที่ขัดกับความเชื่อ ส่วนตัวมาพิจารณาความเชื่อเหล่านี้ได้แก่ ขนบธรรมเนียมประเพณีที่ยึดถือกันมานานตาม คนเฒ่าคนแก่ โหราศาสตร์ต่างๆและความเชื่อ ทางด้านโชคลางเป็นต้น

6. อุปสรรคทางอารมณ์ ปล่อยให้ความรู้สึกต่าง ๆเช่น ความโกรธ ความกังวล ความอิจฉาริษยา อยู่เหนือเหตุผล จนไม่ สามารถสร้างความคิดต่อไปได้ เพราะมัวหมกมุ่นอยู่กับอารมณ์เหล่านั้น เป็นผลต่อหมวกไต จะหลั่งสารออรีนาลินเข้าสู่กระแส เลือดขึ้นสู่สมองไปขัดขวางการส่งกระแสคลื่นความคิดหรือคลื่นประสาท (Nerve Impulse) เกิดอาการที่เราเรียกว่า เลือดขึ้นหน้า สมองตีบตัน คิดอะไรไม่ออก


7. อุปสรรคจากความกลัว ความกลัวเป็นอุปสรรค ต่อพัฒนาการของความคิดเนื่องจากกลัวความ ผิดพลาด ความล้มเหลวและความพ่ายแพ้ กลัวคนอื่นมองว่าตนเอง "โง่" กลัวคนอื่นหัวเราะเยาะ กลัวถูกมองว่าตนเองแปลกแยกจากคนอื่นๆ ทำาให้ ถูกกีดกันออกจากสังคมนั้นๆ


การป้องกันและแก้ไขข้อบกพร่องในการคิด

นักจิตวิทยาได้เสนอแนะเพื่อฝึกฝนให้มีสมรรถภาพใน การคิด ดังนี้
1) หมั่นศึกษาหาความรู้ให้กว้างขว้าง
2) หัดพิจารณาปัญหาที่เกิดขึ้นให้ถี่ถ้วน
3) การคิด ทำจิตใจให้เป็นธรรมและเป็นกลางมากที่สุด
4) พยายามพลิกแพลงวิธีคิดหลายๆ วิธี
5) ศึกษาวิธีคิดของคนอื่นๆ
6) หมั่นวิจารณ์ความคิดของตนเอง และหาวิธีแก้ไข

การพัฒนาสมองของมนุษย์อาจมีความไม่สมบูรณ์ หรือมีอุปสรรคขึ้นอยู่กับสาเหตุหลายประการ เช่น
1) สมองถูกกระทบกระเทือนจากอุบัติเหตุหรือมลภาวะ
2) รับประทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์ การดื่มสุรา และเสพสารเสพติด
3) การพักผ่อนไม่เพียงพอ
4) คิดแต่สิ่งที่เป็นแง่ร้าย
5) ขาดสมาธิ ชอบเก็บตัว เครียด ไม่กล้าเผชิญปัญหา
6) ไม่ชอบคิด มีทัศนคติ แรงจูงใจที่ไม่ถูกต้องในการคิด
7) ไม่ชอบศึกษาหาความรู้ ทำให้ข้อมูลในสมองล้าสมัย


กรอบความคิดของการคิด

ทิศนา แขมมณี และคณะ (2545) ได้จัดกลุ่มคำต่างๆ ที่แสดงถึง ลักษณะของการคิดและคำที่เกี่ยวข้องกับการคิดไว้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ คือ


1. ทักษะการคิด เป็นคำที่แสดงออกถึงการกระทำหรือพฤติกรรม ที่ต้องใช้ความคิด เช่น การสังเกต การเปรียบเทียบ การจำแนกแยกแยะ การขยายความ การแปลความ การตีความ การจัดกลุ่ม การจัดหมวดหมู่ การสรุป เป็นต้น ซึ่งคำต่างๆ เหล่านี้เป็นพฤติกรรมที่ ไม่มีคำว่า "คิด" เป็นส่วนประกอบ แต่ก็มีความหมายของ "การคิด" อยู่ในตัว คำในกลุ่มนี้มีลักษณะของพฤติกรรมหรือการกระทำ ที่ชัดเจน หากบุคคลสามารถทำได้อย่างชำนาญ จะเรียกว่ามี
"ทักษะ" ดังนั้นจึงเรียกกลุ่มนี้ว่า "ทักษะการคิด"

2. ลักษณะการคิด เป็นคำที่แสดงลักษณะของการคิด ซึ่งใช้ในลักษณะเป็นคำวิเศษณ์ เช่น คิดกว้าง คิดถูก คิดคล่อง คิด รอบคอบ เป็นต้น ซึ่งเป็นคำที่ไม่ได้แสดงออกถึงพฤติกรรม หรือการกระทำโดยตรง แต่สามารถแปลความไปถึงพฤติกรรม หรือการกระทำประการใดประการหนึ่ง หรือหลายประการ รวมกัน จึงเรียกกลุ่มนี้ว่า "ลักษณะการคิด"

3. กระบวนการคิด เป็นคำที่แสดงลักษณะการคิด แต่เป็นคำที่ ครอบคลุมพฤติกรรมหรือการกระทำหลายประการสัมพันธ์กันเป็น ลำดับขั้นตอนมีความหมายถึง กระบวนการในระดับที่สูงหรือมากกว่า ซับซ้อนกว่าลักษณะการคิด เช่น การคิดรอบคอบที่หมายถึงการคิดให้ กว้างรอบด้าน รวมทั้งการคิดให้ลึกซึ้งถึงแก่น หรือสาเหตุที่มาของสิ่งที่คิด และอาจจะต้องมีการคิดไกล พิจารณาถึงผลที่จะตามมา และการคิดที่เป็นกระบวนการ จึงต้องอาศัยพฤติกรรม หรือการกระทำ ทักษะจำนวนมาก


ความสำคัญของการคิดแต่ละลักษณะ

1. ลักษณะการคิดที่เป็นหัวใจของการคิด คือ เป้าหมาย ของการคิด ไม่ว่าจะคิดเกี่ยวกับสิ่งใดการตั้งเป้าหมายของการให้ ถูกทางเป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะการคิดนั้นหากเป็นไปในทางที่ผิด แม้ความคิดจะมีคุณภาพสักเพียงใดก็อาจจะคิดให้เกิดความเสียหาย ความเดือดร้อน แก่ส่วนรวมได้ยิ่งความคิดมีคุณภาพสูง ความเดือดร้อนเสียหาย ก็จะยิ่งสูงตามไปด้วย ดังนั้น หากไม่มีทิศทางที่ถูกต้อง คอยกำกับควบคุมแล้ว การคิดนั้นก็ไร้ประโยชน์ ด้วยเหตุนี้ การคิดถูกทางจึงเป็น การคิดที่คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวม และประโยชน์ระยะยาว

2. ลักษณะการคิดระดับพื้นฐาน ที่จำเป็นสำหรับบุคคลทุกระดับ ได้แก่
"การคิดคล่อง" หมายถึง กล้าที่จะคิดและมีความคิดหลั่งไหล ออกมาได้อย่างรวดเร็ว
"การคิดหลากหลาย" หมายถึง คิดให้ได้ความคิดในหลายลักษณะหลายประเภท หลายชนิด หลายรูปแบบ
"การคิดละเอียดลออ" หมายถึง การคิดเพื่อให้ได้ข้อมูลอันจะส่งผลให้ ความคิดมีความรอบคอบขึ้น
"การคิดชัดเจน" หมายถึง การคิดให้เกิดความเข้าใจสิ่งที่คิด สามารถอธิบายขยายความได้ด้วยคำพูดของตนเอง ลักษณะทั้ง 4 แบบนี้เป็นลักษณะ เบื้องต้นที่จะนำไปใช้ในการคิดลักษณะอื่นที่มีความซับซ้อน ยิ่งขึ้น

3. ลักษณะการคิดระดับกลาง ได้แก่ "การคิดกว้าง" หมายถึง การคิดให้ได้หลายด้าน หลายแง่มุม "การคิดลึกซึ้ง" หมายถึง คิดให้เข้าใจถึงสาเหตุที่มา และ ความสัมพันธ์ต่างๆ ที่ซับซ้อน ที่ส่งให้เกิดผลต่างๆ รวมทั้งคุณค่าความหมายที่แท้จริงของสิ่งนั้น "การคิดไกล" หมายถึง การประมวลข้อมูล ในระดับกว้างและระดับลึก เพื่อทำนายสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต และ "การคิดอย่างมีเหตุผล" หมายถึงการคิดโดยใช้หลัก เหตุผลแบบนิรนัย หรือ อุปนัย

4. ลักษณะการคิดระดับสูง ได้แก่การคิดที่ต้องมีกระบวนการ มีขั้นตอนที่มากและซับซ้อนขึ้นในที่นี้ขอเรียกว่ากระบวนการคิด และกระบวนการคิด ที่มีความสำคัญและจำเป็นในที่นี้ คือ "กระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ" ซึ่งหากบุคคลใด สามารถคิดได้อย่าง มีวิจารณญาณแล้วก็จะได้สานความคิดที่ ผ่านการกลั่นกรองมาดีแล้ว นำไปใช้ในสถานการณ์ต่างๆ ได้ เช่นนำไปใช้ในการแก้ปัญหา การตัดสินใจ การริเริ่ม การ สร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ หรือการปฏิบัติการสร้าง และการผลิตสิ่งต่างๆ รวมทั้งการที่จะนำไปศึกษาวิจัยต่อไป

การพัฒนาลักษณะการคิดแบบต่างๆ

ลักษณะการคิด หมายถึง แบบแผนในการคิด ลักษณะ การคิดแบบใดแบบหนึ่งจะมีแบบแผนหรือกระบวนการ หรือขั้นตอนใน การคิดที่ เป็นเอกลักษณ์ของตนซึ่ง มุ่งเน้นมาตรฐานของการคิด ทิศนา แขมมณีและคณะได้เสนอ 9 ลักษณะการคิดที่ควรพัฒนา ได้แก่

1. คิดคล่อง เพื่อให้ได้ค้ความคิดจำนวนมากและคิดได้อย่างรวดเร็ว

วิธีคิด

1. คิดเกี่ยวกับเรื่องที่คิดให้ได้จำนวนมากและอย่างรวดเร็ว
2. จัดหมวดหมู่ของความคิด

เกณฑ์ความสามารถในการคิดคล่อง

  • สามารถบอกความคิดได้จำนวนมาก
  • สามารถบอกความคิดได้จำนวนมาก และในเวลาที่รวดเร็ว
  • สามารถจัดหมวดหมู่ของความคิดได้ 


2. คิดหลากหลาย เพื่อให้ได้ความคิดที่มีลักษณะหรือรูปแบบต่างๆกัน 

วิธีคิด

1. คิดเกี่ยวกับเรื่องที่คิดให้ได้รูปแบบ/ลักษณะ/ประเภทที่หลากหลายแตกต่างกัน
2. จัดหมวดหมู่ของความคิด

เกณฑ์ความสามารถในการ คิดหลากหลาย

1. สามารถให้ความคิดที่มีลักษณะ/รูปแบบ/ประเภทที่หลากหลาย
2. สามารถจัดหมวดหมู่ของความคิดได้


3.คิดละเอียด เพื่อให้ความคิดที่ผ่านการพิจาณาถึงรายละเอียดของสิ่งนั้น

วิธีคิด

1. คิดให้ได้รายละเอียดหลักที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่คิด
2 คิดให้ได้รายละเอียดย่อยที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่คิด

เกณฑ์ความสามารถในการคิดระเอียด

1. สามารถให้รายละเอียดหลักเกี่ยวกับเรื่องที่คิดได้
2. สามารถให้รายละเอียดย่อยเกี่ยวกับเรื่องที่คิดได้

4. คิดชัดเจน เพื่อให้ความรู้ว่าความคิด/ความรู้ของคนส่วนไหนที่ตนยังไม่เข้าใจ/สงสัย/และส่วนไหนที่ตนเข้าใจสามารถอธิบายได้

วิธีคิด

1. พิจารณาถึงที่คิดแล้วหาว่า
1.1 ตนรู้/เข้าใจอะไร
1.2 ตนเองไม่เข้าใจอะไร
2. ในส่วนที่เข้าใจให้ลองคิดอธิบายขยายความด้วยคำพูดของตน

เกณฑ์และความสามารถในการคิดชัดเจน

1. สามารถบอกได้ว่าในเรื่องที่คิด ตนเองรู้/เข้าใจอะไรบ้างและไม่รู้/เข้าใจอะไรบ้าง
2. สามารถอธิบาย ขยายความหรือยกตัวอย่าง ในเรื่องที่ตนเองรู้/เข้าใจได้


5. คิดอย่างมีเหตุผล เพื่อให้ได้ความคิดที่สามารถอธิบายได้ด้วยหลักของเหตุผล

วิธีคิด
1. จำแนกข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริงและความคิดเห็นออกจากกัน
2. พิจารณาเรื่องที่คิดบนพื้นฐานของข้อเท็จจริงโดยใช้หลักเหตุผล
2.1 แบบนิรนัยคือคิดจากหลักการทั่วไปไปสู่ข้อเท็จจริงย่อยๆ
2.2 แบบอุปนัยคือคิดจากข้อเท็จจริงย่อยๆไปสู่หลักการทั่วไป

เกณฑ์ความสามารถในการคิดอย่างมีเหตุผล

1. สามารถแยกข้อเท็จจริงและความคิดเห็นออกจากกันได้
2. สามารถใช้เหตุผลแบบ นิรนัยหรืออุปนัยในการพิจารณาข้อเท็จจริง
3. สามารถใช้เหตุผลทั้งแบบ นิรนัยหรืออุปนัยในการพิจาณา ข้อเท็จจริง


6. คิดถูกทาง เพื่อให้ได้ความคิดที่เป็นประโยชน์ในทางที่ดีต่อสังคม

วิธีคิด
1. ตั้งเป้าหมายของการคิดไปในทางที่จะเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมมากว่าประโยชน์ส่วนตัว
2. คิดถึงประโยชน์ระยะยาวมากกว่าประโยชน์ระยะสั้น

เกณฑ์ความสามารถในการคิดถูกทาง

1. เกณฑ์ประโยชน์ส่วนตนส่วนรวม
1.1 เกิดประโยชน์แก่ตนเอง โดยไม่ก่อความเดือดร้อนแก่ผู้อื่น
1.2 เกิดประโยชน์ทั้งแก่ตนเองและผู้อื่น
1.3 เกิดประโยชน์แก่ตนเองและผู้อื่น โดยเน้นส่วนรวมเป็นสำคัญ
2. เกณฑ์ประโยชน์ระยะสั้นระยะยาว
2.1 เกิดประโยชน์ระยะสั้น
2.2 เกิดประโยชน์ระยะยาว


7. คิดกว้าง เพื่อให้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องที่คิดอย่างครอบคลุม

วิธีคิด
1.คิดถึงองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่คิดให้ครอบคลุมสิ่งที่มีความสำคัญหรือมีอิทธิพลต่อเรื่องที่คิด
2. คิดถึงความสำคัญขององค์ประกอบแต่ละองค์ประกอบที่มีต่อเรื่องที่คิด
3. คิดถึงจุดสำคัญทั้งที่เป็นจุดเด่น จุดด้อย และจุดที่น่าสนใจขององค์ประกอบที่มีความสำคัญต่อเรื่องที่คิด

เกณฑ์ความสามารถในการคิดกว้าง

1. สามารถระบุองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่คิดได้ครอบคลุมสิ่งที่มีความสำคัญหรือมีอิทธิพลต่อเรื่องที่คิด
2. สามารถระบุได้ว่าองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่คิดมี ความสำคัญมากน้อยเพียงใดต่อเรื่องที่คิด
3. สามารถวิเคราะห์จุดสำคัญทั้งที่เป็นจุดเด่น จุดด้อยและจุดที่น่าสนใจขององค์ประกอบสำคัญที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่คิด


8. คิดลึกซึ้ง เพื่อให้เกิดความเข้าใจอย่างแท้จริงในสิ่งที่คิด โดยเข้าใจถึงความซับซ้อนของโครงสร้าง และระบบความสัมพันธ์ เชิงสาเหตุ ในโครงสร้างนั้น รวมทั้งความหมายหรือคุณค่าของสิ่งที่คิด

วิธีคิด
1. วิเคราะห์ให้เห็นองค์ประกอบหลักและองค์ประกอบย่อยที่ โยงใยและสัมพันธ์กันอย่างซับซ้อน จนประกอบกันเป็นโครงสร้าง หรือภาพรวมของสิ่งนั้น
2. วิเคราะห์ให้เข้าใจถึงระบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุที่อยู่ภายในโครงสร้างนั้น
3. วิเคราะห์ถึงสาเหตุของปัญหาหรือความหมายหรือคุณค่าที่แท้จริงของสิ่งที่คิดได้

เกณฑ์ความสามารถในการคิดลึกซึ้ง

1. สามารถอธิบายโครงสร้างและความสัมพันธ์ขององค์ประกอบต่างๆในโครงสร้างของเรื่องที่คิดได้
2. สามารถบอกสาเหตุของปัญหาหรือความหมายหรือ คุณค่าที่แท้จริงของสิ่งที่คิดได้


9. คิดไกล เพื่อให้ได้ความคิดที่เชื่อมโยงไปในอนาคต สามารถนำไปใช้ในการวางแผนและเตรียมการเพื่ออนาคตที่ดี

วิธีคิด
1. นำปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่คิดทั้งทางกว้างและทางลึกมาวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ
2. ทำนายความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยต่างๆอย่างต่อเนื่องเป็นชั้น ๆไปโดยอาศัยข้อมูลและข้อเท็จจริงต่างๆเป็น ฐานในการทำนาย

เกณฑ์ความสามารถในการ คิดไกล

1. สามารถวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับ เรื่องที่คิดทั้งทางกว้างและทางลึก
2. สามารถใช้ข้อมูลและข้อเท็จจริงต่าง ๆทำนายความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยต่างๆที่เกี่ยวข้อง กับเรื่องที่คิดทั้งทางกว้าง และทางลึก


ที่มา : https://www.novabizz.com/NovaAce/Intelligence/Thinking.htm

ความคิดเห็น

ยอดนิยม

CALENDAR

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม